เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์กลุ่มหนึ่งได้รับโอกาสอันดีจาก คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด หรือที่รู้จักในวงการว่า “แจ็ค เคลมดิ ผู้เปลี่ยนตัวเองจาก SME ให้เป็น Startup ได้อย่างน่าสนใจ และเอาประสบการณ์มาเล่าให้พวกเราฟัง
11887566_10205216895848002_3092476945146668877_o

ไม่ขายแต่ให้ใช้ฟรี เดิมคุณแจ็คทำระบบประกันรถยนต์ให้กับบริษัทประกันต่างๆ และมีฐานลูกค้าถึง 50% ของตลาดประกันทั้งหมดในประเทศ แต่ด้วยความที่ขายแบบเก็บเงินค่าระบบครั้งเดียว ถึงแม้มีผู้ใช้ระบบมากขึ้น หรือบริษัทประกันขายประกันได้มากขึ้น คุณแจ็คก็ไม่ได้ตังค์เพิ่ม แต่พอได้เข้าโครงการ Dtac Accelerate เป็นโอกาสให้ศึกษาเรื่อง startup อย่างจริงๆจังๆ แถมได้ไอเดียจากคุณกระทิง กูรูผู้จุดประกายความคิดเรื่อง startup ให้ใครอีกหลายคน ก็บังเกิดไอเดียที่จะทำแอปออกมาใหม่ แล้วกลับไปขายบริษัทประกันในแบบที่ให้ใช้ฟรี แต่คิดเงินเป็นค่าบริการต่อกรมธรรม์ ทำแบบนี้ยิ่งมีรถมาก มีประกันมาก ผลตอบแทนก็ยิ่งมากตามไปด้วย

มีลูกค้าก็มีมูลค่า Valuation
คุณกระทิงไม่เพียงชี้แนะเท่านั้น แต่ยังช่วยคิดมูลค่า (Valuation) ให้ด้วย ทำให้คุณแจ็คนำมูลค่านั้นไปพูดคุยกับนักลงทุน (Venture Capital) อีกหลายราย จนได้รับเงินลงทุน Pre Series A ในเวลาอันรวดเร็ว

Clone / Jump / Monopoly Model
คุณแจ็คยังได้เล่าบทเรียนและแนวคิดในการทำงานแบบ Startup ผ่าน model ต่างๆ ดังนี้
Clone Model เป็นการทำซ้ำในสิ่งที่สำเร็จอยู่แล้ว เช่น กรณีของชายสี่หมี่เกี๊ยวที่มีสูตรสำเร็จแล้วไปเปิดแทบจะทุกตำบลอยู่แล้ว
Jump Model การเติบโตแบบก้าวกระโดด ที่ทำให้ยึดครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้ เหมือนกรณีของ GrabTaxi ที่ตอนนี้มีคนเรียกผ่านแอป 11 ครั้งต่อวินาที
Monopoly Model คือการเป็นเจ้าตลาด ซึ่งถึงจุดนี้แม้ว่าจะปรับเปลี่ยนหรือขึ้นราคาบ้าง ลูกค้าก็จะยังคงใช้บริการอยู่ เพราะไม่มีคู่แข่งที่เข้มแข็งมาต่อกรได้อีกแล้ว

80/20 Model
ไม่ต้องทำเยอะ แต่ทำในสิ่งที่มีผลต่อผู้ใช้มากที่สุดก่อน คือใช้ความพยายามเพียงแค่ 20% แต่มีผลกระทบ (ในแง่ดี) กับลูกค้าถึง 80% แปลง่ายๆก็คือ ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องทำระบบที่ดีที่สุดเสมอไป แต่มีสิ่งที่คนส่วนใหญ่ (80%) ชอบก็เพียงพอกับความสำเร็จแล้ว

Long Tail / Lean / Hook Model
Long Tail Model ทำยังไงให้ได้รายได้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ขายได้ครั้งเดียวแล้วจบ
Lean Model (learn / build / measure) เรียนรู้ให้เร็ว พัฒนาอย่างต่อเนื่อง แล้ววัดผลเพื่อนำกลับมาเข้ากระบวนการนี้อีกรอบนึง อย่างของคุณแจ็คเองก็มีแผนปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆของแอป Claim Di ทุกๆ 2 สัปดาห์ และบางครั้งก็จะให้พนักงานเอาแอปไปให้ลูกค้าของร้านกาแฟทดลองใช้เพื่อจับอาการความรู้สึกของการใช้ว่าชอบไม่ชอบอะไร หยุดหรืองงตรงไหนไหม แลกกับเลี้ยงกาแฟให้คนละแก้วก็มี
Hook Model เพื่อทำยังไงก็ได้ให้ผู้ใช้ engage กับแอปนั้นๆ เข้าสู่กระบวนการ trigger / action / reward / investment เช่น ในแอป Police I lert U จะมีปุ่มเด่นๆ ไว้เรียกตำรวจ ซึ่งจะมีคนกดผิดบ่อยๆ (เพราะเอาปุ่มยืนยันออกไป) แต่ในทางกลับกัน เมื่อกด(ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) จะมีตำรวจโทรกลับมาภายในไม่กี่นาที เป็นเหมือน reward ทำให้ผู้ใช้ประทับใจและนำไปบอกต่อๆ กันเป็น Investment

hook-model

Growth Hacking
คิดและหาหนทางที่จะทำให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการหรือโหลดและเล่นแอปนั้นๆ และหาเหตุผลว่าเพราะอะไร โดยศึกษาพฤติกรรมโดยตลอด เมื่อหาได้แล้วก็ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้น เรื่องนี้ขึ้นกับจินตนาการเลยว่าใครจะทำวิธีไหน แต่คนที่เก่งเรื่องนี้ก็เก่งและสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจจริงๆ อย่างคุณหมู Ookbee ที่ทำให้ Ookbee เติบโตได้อย่างโดดเด่น

VC Stage
เมื่อทำแอปให้เดินไปสู่ความสำเร็จแล้ว การพูดคุยกับนักลงทุน (Venture Capital) ก็จะตามมา โดยแบ่งเป็น round ต่างๆ ตามลำดับห่วงเวลาและยอดเงินการลงทุน
Pre Seed (15x) / Seed (3x) / Series A (3x) / Series B (3x)
คุณแจ็คปล่อยตัวเลขอ้างอิงมาด้วยว่าในแต่ละ stage นั้น VC จะคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนกี่เท่า นั้นหมายถึง Startup ก็ต้องพยายามทำ Valuation ให้สูงขึ้นเท่ากับหรือมากกว่าความคาดหวังนี้ (ลองคิดกันดูนะว่าถ้าทำได้ตามตัวเลขนี้ 15*3*3*3 = 405 เท่าของการลงทุน ตั้งแต่ Pre Seed ไปถึง Series B)

Exit Strategy
โลกของ Startup หมุนเร็วกว่าโลกของ SME มาก ในเวลาเพียงไม่กี่ปี Startup สามารถเกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว และเจ้าของก็เลือกที่จะ exit ได้ด้วย ซึ่งทางหลักๆคือการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีกรณีแบบนี้ในประเทศไทยนัก หรืออีกทางก็คือการขายบริษัทออกไป เรามาคอยดูกันต่อไปว่าคุณแจ็คจะเลือกทางไหน

วันนั้นเราทุกคนกลับไปแบบเปิดกบาลมาก ผมได้ยินเสียงบางคนเปรยๆว่า ไม่รู้จะนอนไม่หลับไปกี่คืน เพราะมีเรื่องให้กลับไปคิดเยอะเลย

Media File  Co-Founder RangyPOS,   ไอคอน RangyPOS,   โลโก้ RangyPOS,   RangyPOS@ CommunicASIA 2015,   ใช้ RangyPOS แล้วได้อะไร,   ไฟล์ Press release#1(docx),   ไฟล์ Press release#1(pdf),   QR Code,   โลโก้ Google Play,   หน้าจอหลัก 1, หน้าจอหลัก 2,   หน้าจอหลัก 3,   หน้า Benefit,   หน้า POS,   หน้า Payment,   หน้า How to 1,   หน้า How to 2,   หน้า How to 3,   หน้า How to 4,   หน้า How to 5,   หน้า How to 6,   หน้าตั้งค่าสินค้า1,   หน้าตั้งค่าสินค้า2

วันที่ สิงหาคม 28, 2015 Tags หมวดหมู่ ไม่มีหมวดหมู่